The Graduate
เมื่อเร็วๆ นี้ หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงานถึงความน่าอิจฉาของระบบการศึกษาที่ทรงประสิทธิภาพของเกาหลีใต้ผ่านตัวเลขอันน่าทึ่ง
นั่นเพราะนักเรียนเกาหลีใต้กลายเป็นผู้กวาดคะแนนการทดสอบคณิตศาสตร์และการอ่านสูงสุดอยู่ใน 5 อันดับแรกของโลก จำนวนเด็กลาออกจากโรงเรียนกลางคันมีไม่ถึงร้อยละ 4และจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาสูงถึงร้อยละ 56 ซึ่งถือว่าอยู่ในกลุ่มที่สูงที่สุดในโลก แน่นอนว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ของเกาหลีอย่างแชโบล ย่อมอ้าแขนรับบัณฑิตใหม่ด้วยความกระตือรือร้น พร้อมผลตอบแทนที่งดงาม แต่ขณะเดียวกัน เด็กจบใหม่จำนวนมากก็เลือกที่จะมีธุรกิจของตัวเอง เพราะไม่อยากฝากความหวังไว้กับแชโบลที่เคยล้มคว่ำไม่เป็นท่าจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ซึ่งไม่ว่าพวกเขาจะเลือกเดินไปสู่ระบบธุรกิจยักษ์ใหญ่ หรือเป็นเจ้าของธุรกิจเล็กๆ คำตอบก็คือ พวกเขามีทางเลือกในชีวิต
เมื่อโลกผลักดันให้สังคมอยู่ในยุคฐานความรู้ รัฐบาลหลายประเทศในเอเชียต่างก็กำหนดทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ลูกหลานในอนาคต อย่างเวียดนามที่เริ่มพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับระบบอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต ด้วยนโยบายเพิ่มจำนวนนักศึกษาอาชีวะอีกร้อยละ 30 เพิ่มบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีอีก 3 เท่า พร้อมตั้งเป้าให้มีวิทยาลัยอาชีวะ 10 แห่ง และมหาวิทยาลัย 4 แห่งที่ได้มาตรฐานระดับสากล ขณะที่สิงคโปร์ซึ่งมีระบบการศึกษาที่ได้มาตรฐานอยู่แล้ว ก็หันไปเพิ่มความพิเศษให้เยาวชนด้วยแคมเปญ Be Creative ที่ส่งเสริมทักษะพิเศษด้านความคิดสร้างสรรค์ทุกสาขาตั้งแต่แอนิเมชั่นไปถึงการละคร เช่นเดียวกับเกาหลีใต้ที่พยายามรณรงค์ให้เด็กๆ มีทักษะด้านดนตรีและกีฬาเพิ่มมากขึ้น
< หน้าหลัก / หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ / คิด ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 มิถุนายน 2554 >
คิด ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 มิถุนายน 2554
เนื้อหาอย่างย่อ
หมวด: -สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)