จากยูนนานถึงแหลมฉบัง
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2010 บนหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ปรากฏโฆษณาเนื่องในโอกาสวันครบรอบ 61 ปีของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เนื้อหาสำคัญในนั้น มิใช่มุ่งเน้นการคารวะต่อท่านประธานเหมา หรือเชิดชูวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของนายเติ้ง เสี่ยวผิง หากแต่กล่าวถึงความร่วมมือในการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างราชอาณาจักรไทยกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการสร้างทางรถไฟดังกล่าวนี้ พาดผ่านจากเหนือจรดใต้ของไทยด้วย 5 เส้นทาง เริ่มลำดับแรกที่เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ซึ่งจะเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟสายคุนหมิง-เวียงจันทน์ และโครงการที่สอง กรุงเทพฯ-ระยอง ที่มีปลายทางที่แหลมฉบัง อันจะเป็นการเปิดพื้นที่การขนส่งใหม่จากมณฑลยูนนานออกสู่ทะเล ทั้งหมดนี้คงไม่ยากที่จะจินตนาการว่า ไทยและจีนจะร่วมความไพบูลย์แห่งเศรษฐกิจอันมาจากการลงทุนและผลพวงของการใช้ ระบบลอจิสติกส์ใหม่ พร้อมๆ กันนั้น จีนก็ไม่รีรอที่จะสร้างเส้นทางสายไหมของศตวรรษใหม่ให้รุดหน้าในประเทศอื่นๆ เช่นกัน ดังนั้นแล้ว ผลผลิตมากมายจึงจะถูกส่งต่อและกระจายออกไปอย่างกว้างขวางในระยะเวลาอันสั้น ผู้คนจะได้ลิ้มลองรสชาติใหม่ของอาหาร อากาศ และวัฒนธรรม ชีวิตจะเปลี่ยน และโลกจะไม่เหมือนเดิมอย่างที่เคยเป็นมา
จีนกำลังทะยานสู่การเติบโต ทางเศรษฐกิจอย่างอัศจรรย์ ท่ามกลางความอิจฉาที่จีนมั่งคั่ง ในขณะที่เศรษฐกิจของตะวันตกเข้าขั้นหายนะ พร้อมกับคำครหาในฐานะผู้ร้ายซึ่งก่อมลพิษ และกีดกันสิทธิมนุษยชนมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่กระนั้นหลายประเทศก็เลือกที่จะหลับตาข้างหนึ่งเสียและจับมือทำธุรกิจกับ จีนอย่างกระตือรือร้น เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจที่รออยู่ข้างหน้า เพราะหลังจากหลับใหลมายาวนาน และทดลองชิมรสชาติระบบทุนนิยมด้วยการประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษของเติ้ง เสี่ยวผิง เมื่อ 30 ปีที่แล้ว จีนก็วางเดิมพันสูงด้วยการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี 2008 อันถือเป็นสัญญาณที่บอกกับโลกว่า ภาพของจีนนั้นเปลี่ยนไปแล้ว จากประเทศที่วุ่นวาย ไร้ระเบียบ เต็มไปด้วยแรงงานราคาถูกแต่ขาดแคลนทักษะ กลายเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ มีกองทัพแรงงานที่แข็งขัน และพรั่งพร้อมด้วยทุนทางวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งซึ่งพร้อมจะถูกนำมาใช้อย่างถูก ที่ถูกเวลา
< หน้าหลัก / หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ / คิด ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 >
คิด ปีที่ 2 ฉบับที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554
เนื้อหาอย่างย่อ
หมวด: -สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)