แจกฟรีแต่มีกำไร
ทางเลือกของการบริหารความคิดสร้างสรรค์
ในอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์นั้น ยากที่จะบอกว่าการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงและนำผลงานของเราไปใช้ มีข้อดีหรือข้อเสียมากกว่ากัน เพราะสำหรับงานสร้างสรรค์บางประเภท การทำซ้ำหรือการลอกเลียนแบบสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของผลงานอย่างมหาศาล แต่กับงานอีกบางประเภท การนำไปใช้หรือดัดแปลงกลับหมายถึงการแผยแพร่และการต่อยอดผลงานแห่งความสร้างสรรค์ให้งอกเงยและเติบโตในวงกว้าง
ดังนั้น ในสังคมที่การใช้ความคิดสร้างสรรค์ลงหลักปักฐานอย่างสมบูรณ์แล้ว การบริหารผลผลิตของความคิดสร้างสรรค์จึงดำเนินไปอย่างเป็นระบบ ด้วยกฎเกณฑ์ที่ว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองและเคารพสิทธิทางปัญญาของนักสร้างสรรค์ แต่ขณะเดียวกันก็เกิดแนวคิดในการแบ่งปันผลงานความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้ผลงานเผยแพร่ในวงกว้าง อันจะนำมาสู่การต่อยอดของความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
แล้วความสมดุลของการเปิดโอกาสในการนำผลงานความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ กับการเคารพสิทธิทางปัญญาอยู่ที่ไหนเรามีทางเลือกของการบริหารความคิดสร้างสรรค์รออยู่ในเล่มนี้
และพบกับ...
•Creative Catalysts Bangkok รวมกันเราอยู่...เดินหน้าสู่เครือข่ายผู้ประกอบการสร้างสรรค์โครงการดีๆจาก British Council
•เมด อิน เซินเจิ้น...ที่่ไม่ได้หมายถึงเมกกะแห่งการเลียนแบบ แต่คือศูนย์กลางการออกแบบกราฟฟิกและอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
•Karmakamet...รวยรินกลิ่นหอมในโลกเร้นลับ..ที่สัมผัสได้จริง
•สฤณี อาชวานันทกุล...ผู้หญิงพูดเร็ว พลังงานเหลือเฟือ คนชายขอบเจ้าของบล็อก Fringer.org และบรรณาธิการโอเพ่นออนไลน์ ผู้เชื่อว่า "ความคิดสร้างสรรค์ควรมีไว้แบ่งปัน"
< หน้าหลัก / หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ / คิด ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน 2552 >
คิด ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน 2552
เนื้อหาอย่างย่อ
หมวด: -สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)